มติชน ฉบับวันพุธที่ 29 เมษายน 2563 เผยแพร่มาตรการเร่งด่วนในการบรรเทาวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของทุกกรมในกระทรวงแรงงานจำนวนครึ่งหน้ากระดาษนสพ. เนื้อหาของมาตรการประกันสังคม มีทั้งหมดดังนี้
- การปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
กรณีเหตุสุดวิสัย (โควิด-19) มีผลบังคับใช้ 1มีนาคม-31 สิงหาคม 2563
1)ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย
ที่มีความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 62 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 90วัน
2)ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ และไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ทั้งที่นายจ้าง
หยุดประกอบกิจการเองหรือหยุดตามคำสั่งของทางราชการ ได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน ร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน
กรณีลาออก มีผลบังคับใช้ 1 มีนาคม 2563-28 กุมภาพันธ์ 2565 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 45 ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
กรณีเลิกจ้าง มีผลบังคับใช้ 1มีนาคม 2563-28 กุมภาพันธ์ 2565 ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 70 ระยะเวลาไม่เกิน 200 วัน
- ลดอัตราเงินสมทบและขยายกำหนดเวลายื่นแบบอัตราเงินสมทบ นายจ้าง และผู้ประกันตน
นายจ้าง เหลือร้อยละ 4 ของค่าจ้างผู้ประกันตน
ผู้ประกันตนม.33 เหลือร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน
ผู้ประกันตนม. 39 เหลือเดือนละ 86 บาท
เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563
-เดือนมีนาคม 2563 ให้นำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2563
-เดือนเมษายน 2563 ให้นำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2563
-เดือนพฤษภาคม 2563 ให้นำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 กันยายน 2563
- ให้สินเชื่อสถานประกอบการเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด วงเงิน 30,000 ล้านบาท
โดยสำนักงานประกันสังคมจะสนับสนุนเงินฝากเพื่อให้ธนาคารไปปล่อยเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3% ต่อปี กรณีมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปีกรณีไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
-สถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 50 คน กู้ได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท
-สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 51-200 คน กู้ได้ไม่เกิน 10 ล้านบาท
-สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 201 คนขึ้นไป กู้ได้ไม่เกิน 15 ล้านบาท
บทความนี้ มุ่งตรวจสอบมาตรการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และการลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนเป็นสำคัญ ดังนี้
- ปฏิกิริยาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(1) คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.)ประกอบด้วย -สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย กับสมาคมธนาคารไทยยื่นหนังสือเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคัดค้านการลดเงินสมทบให้นายจ้างเหลือ 4% ขณะที่ลดให้ผู้ประกันตนเหลือ 1%
–สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) ขอให้รัฐบาลผ่อนผันการจ่ายเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนออกไป 1 ปี
–สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)เสนอต่อรัฐบาลให้ขยายระยะเวลาจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานชั่วคราวของผู้ประกันตนม.33 ที่จ่ายร้อยละ 62 ออกไปอีก 150 วันหรือไปจนสิ้นปี 2563 เพราะเห็นว่าสึนามิคนตกงานจะมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม เพื่อรับมือปัญหาไม่ให้ถูกเลิกจ้างมากขึ้น หากผู้ประกอบการอยู่ไม่ไหว ต่างคนต่างไป เจ้าของกิจการอาจลอยแพคนงาน (ประชาชาติธุรกิจ,13-15 กรกฎาคม 2563 น.9) ข้อเสนออื่น เช่น
-ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 1 และขยายระยะเวลาการลดเงินสมทบของลูกจ้างเหลือร้อยละ 1ไปถึงวันที่ 31ธันวาคม 2563
-ปรับอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเหลือร้อยละ 0.01
-ปรับการจ้างเป็นรายชั่วโมงได้ โดยคิดค่าจ้างอัตราชั่วโมงละ 40-41 บาท ระยะเวลาการจ้าง 4-8 ชั่วโมง/วัน
-อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานเปลี่ยนนายจ้างได้ชั่วคราวเมื่อมีการยกเลิกกิจการ เป็นต้น
- ขณะที่ต้นเดือนพฤษภาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแถลงข่าวว่าจะเสนอครม.ให้เพิ่มการจ่ายเงินทดแทน
กรณีว่างงานเพราะผลกระทบจากโควิด-19จาก 62% เป็น 75% แต่ไม่เกินเพดาน 15,000บาทให้เท่ากับกรณีนายจ้างสั่งหยุดงานชั่วคราวตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานและลดเงินสมทบนายจ้างเหลือ1%จากเดิม4% แต่คณะกรรมการประกันสังคมมีมติ
เอกฉันท์ไม่เห็นชอบ (ประชาชาติธุรกิจ,11-13 พฤษภาคม 2563 น.4) นับเป็นกรณีแรก ที่คณะกรรมการประกันสังคมไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ รมว.แรงงานที่เตรียมเสนอครม.เห็นชอบ?
(2) สภาองค์การลูกจ้างหลายแห่ง
คัดค้านรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกรณีปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีโควิด- 19 เพราะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องจ่ายเงินทดแทนเพิ่มขึ้นมหาศาลกองทุนเกิดภาวะถังแตกได้ จนกระทั่งผู้บริหารสำนักงานประกันสังคมต้องออกมาชี้แจงให้สังคมหายกังวลว่ากองทุนประกันสังคมมีทั้งหมดกว่า 2ล้านล้านบาท ไม่ได้หายไปไหน มีเพียงพอที่จะจ่ายกรณีว่างงานและอื่นๆ เงินกองทุนว่างงานมีอยู่กว่า 160,000 ล้านบาทคาดว่าจะจ่ายกรณีว่างงาน 1.2 ล้านคนจำนวน 2-30,000ล้านบาท และเตรียมสำรองสภาพคล่องไว้จ่ายแล้ว (เดลินิวส์, 5พฤษภาคม 2563)
(3)กลุ่มผู้ใช้แรงงานและกลุ่มผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (กลุ่มขอคืนไม่ใช่ขอทาน)
ยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เพื่อติดติดตามจดหมายเปิดผนึก
จดหมายที่เคยยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2563 เพราะไม่พอใจที่สปส.ตอบกลับด้วยเนื้อหาอ้าง
อ้างแต่บทบัญญัติกฎหมาย ไม่ได้แสดงความจริงใจช่วยเหลือผู้ประกันตนที่กำลังเนื้อดือดร้อนอย่างสาหัส จึงต้องมาเรียกร้อง และขอคำตอบอีก ดังนี้
1.พิจารณาโดยทันทีให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินออมกองทุนชราภาพมาใช้ก่อนระหว่าง 30% – 50%
- 2. พิจารณาแก้ไขมาตรา 77 ทวิให้ผู้ประกันตนเลือกรับบำนาญ หรือได้ไม่ว่าผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบมากี่งวดก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
3.ให้กำกับดูแลสำนักงานประกันสังคมทำงานด้วยความรวดเร็วฉับไวกว่าที่เป็นอยู่เพราะความเดือดร้อนความหิวรอ
ไม่ได้
4.ให้หามาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนหลังจากครบกำหนด 90 วันในมาตรการช่วยเหลือกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยเพราะผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกันตนเชื่อว่าผู้ประกันตนยังไม่สามารถพลิกฟื้นจากวิกฤตภายใน 90 วัน
วันที่ 2 มิถุนายน คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายระเบียบปรับปรุงวิธีการกำหนดอัตราเงินสมทบการเพิ่มการจัดเก็บเงินสมทบและการพัฒนาสิทธิประโยชน์ (แต่งตั้งโดยคณะกรรมการประกันสังคม)ได้ประชุมพิจารณาข้อเรียกร้อง 4 ข้อดังกล่าวที่ประชุมมีมติ คือ
1)การให้ผู้ประกันตนนำเงินออมกองทุนชราภาพของตนมาใช้ก่อนเกษียณขัดต่อหลักการและเจตนารมณ์การตั้งกองทุนชราภาพ ขณะที่การจะปรับเปลี่ยนเป็นการกู้เงินโดยใช้เงินออมเป็นหลักประกันยังมีข้อดีข้อเสียไม่ชัดเจน ให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาหลายรายละเอียดทุกมิติให้รอบด้านชัดเจนก่อน
2)มาตรการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระยะต่อไป ให้สำนักงานประกันสังคมหาข้อเท็จจริงของความคิดเห็นข้อเสนอแนะของผู้ประกันตนก่อนว่ามีความต้องการในเรื่องอะไรอย่างไรทั้งนี้การช่วยเหลือเยียวยาความต้องการของผู้ประกันตนขอให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐพ. ศ. 2561
(4)สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย (สพท.) และเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.) ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1)ขอให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทแก่ทุกคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและผู้ประกันตน ที่ได้รับเงินทดแทน
กรณีว่างงานน้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน หรือรับเงินบำนาญไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน
2)ขอให้ขยายระยะเวลาการจ่ายเงินทดแทนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน 62% ที่ได้รับผลกระทบโควิด 19 จาก
90 วัน (3 เดือน)เป็น 180 วัน (6 เดือน) และขยายระยะเวลาลดอัตราเงินสมทบจาก 3 เดือนเป็น 6 เดือน
3)คัดค้านการนำเงินกองทุนประกันสังคมกรณีอื่นและดอกผลกองทุนชราภาพมาช่วยกองทุนประกันการ
ว่างงาน ถ้าจ่ายไม่เพียงพอ เพราะถือเป็นหน้าที่รัฐบาลนำเงินงบประมาณฟื้นฟูเศรษกิจและสังคมมาสนับสนุนเพิ่ม
4)คัดค้านการปรับเพิ่มเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 จาก 62% เป็น 75 %
ของค่าจ้างเพื่อนายจ้างจะไม่ต้องจ่ายเงิน 75% แก่ลูกจ้างตามมาตรา 75 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541
- สาระสำคัญของกฎกระทรวงปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน
(1) กรณีเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19
กฎกระทรวงได้รับผลประโยชน์ทดแทนกรณีว่างาน อันเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพ.ศ. 2563
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามและประกาศในราชกิจจานุเบกษา 15 เมษายน 2563 ได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะกรรมการประกันสังคมเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 (โดยแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ.2560 ซึ่งยังไม่เคยถูกใช้บังคับ)ดังนี้
1)คำนิยาม
ความหมายเดิม | ความหมายใหม่ |
“เหตุสุดวิสัย” หมายความว่าอัคคีภัยวาตภัยหรือธรณีพิบัติตลอดจนภัยอื่นๆอันเกิดจากธรรมชาติซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณะและทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ
(ที่มา:คู่มือผู้ประกันตน,สํานักงานประกันสังคม: สิงหาคม 2562 น.27) |
“เหตุสุดวิสัย”
หมายความรวมถึงภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดต่ออันตรายอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชนและถึงขณะที่ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ |
2)คุณสมบัติ “ลูกจ้าง“ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎกระทรวง 2563 ได้แก่
-ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเพราะถูกกักตัว 14 วันเนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19
-ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างนั้นไม่ว่านายจ้างหยุดประกอบกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนหรือหยุดตามคำสั่งทางราชการ
3)ประโยชน์ทดแทนที่เพิ่มขึ้น
อัตราเดิม | อัตราใหม่ |
เงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงาน เพระเหตุสุดวิสัย
ทั้งนี้ไม่เกิน 180 วัน
|
เงินทดแทนร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงานตั้งแต่วันที่
1 มีนาคมถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563 หรือตามระยะเวลาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด |
4)ประเด็นใหม่ คือ กำหนดให้นายจ้างต้องออกหนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนตามรายการหนังสือ
ที่แนบท้ายกฎกระทรวง เนื่องจากเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากภัยการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2519
-นายจ้างยังมีหน้าที่แจ้งสำนักงานประกันสังคมเมื่อลูกจ้างได้เข้าทำงานแล้วตั้งแต่วันใด มิเช่นนั้น จะถูกเจ้าหน้าที่ประกันสังคมสั่งให้คืนเงินทดแทนบางส่วนที่จ่ายเกินไประหว่างทำงานแล้ว
(2)กรณีลาออกหรือถูกเลิกจ้าง
กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานอันเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ พ.ศ.2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 17 เมษายน 2563 เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจระยะเวลา 2 ปี คือ วันที่ 1 มีนาคม 2563– 28กุมภาพันธ์2565 มีอัตราดังนี้
ถูกเลิกจ้าง – รับ 70% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 200 วัน(เดิม 50% ไม่เกิน 180 วัน) กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน –รับ 45% ของค่าจ้างครั้งละไม่เกิน 90 วัน (เดิม 30% ไม่เกิน 90 วัน)
เครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน(คปค.) เคยทำหนังสือแสดงความยินดี และหารือปัญหาแรงงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ม.ร.ว.จัตุมงคล โณกุล) เมื่อธันวาคม 2562 ข้อเสนอกรณีจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ
“ปรับสิทธิประโยชน์กรณีลูกจ้าง(ผู้ประกันตน)ถูกเลิกจ้างลาออกจากงานหรือพ้นจากการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่ากรณีใดๆ ให้ได้รับอัตราเดียวร้อยละ 75 ของค่าจ้างระยะเวลาจ่าย 180 วัน”
(1)ไม่เห็นด้วยกับการขยายความหมาย “เหตุสุดวิสัย“ให้รวมถึงโรคระบาดโควิด-19 หรือโรคอันตรายอื่นตามกฎหมายโรคติดต่อเพราะไม่ใช่ภัยธรรมชาติแต่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ที่เป็นเหตุก่อโรคติดต่อขึ้น
นอกจากนี้การขยายความหมายให้รวมถึงโควิด-19 ก็เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลที่จะให้กองทุนประกันสังคมรับภาระจ่ายเงินทดแทนลูกจ้าง กรณีไม่สามารถทำงาน หรือ นายจ้างไม่สามารถประกอบการตามปกติได้ เพราะมาตรการปิดเมือง- หยุดกิจกรรม/กิจการจำนวนมากยาวนานตามนโยบายศบค. และอำนาจรัฐรวมศูนย์ ส่งผลหนักหน่วงเฉียบพลันต่อวงจรเศรษฐกิจสังคมและชีวิตคนทำงานอย่างรุนแรงกว้างขวาง
น่าจะเป็นเหตุจำเป็นที่มีมาตรการสาธารณสุข/มาตรการสังคมป้องกันได้ หรือเหตุบังคับจากนโยบายมาตรการรัฐมากกว่าเป็นเหตุสุดวิสัย
(2)นับเป็นครั้งแรกที่คณะรัฐมนตรีเปลี่ยนแปลงข้อเสนอของคณะกรรมการประกันสังคมอย่างไม่โปร่งใส คือไม่ชี้แจงเหตุผลความเป็นมาที่เปลี่ยนแปลงแก้ไข? เหมือนกับว่ารัฐบาลเป็นเจ้าของผูกขาดการใช้เงินกองทุนประกันสังคมอย่างไรก็ได้?โดยมีประเด็นที่รัฐบาลแก้ไข คือ
1)เพิ่มเหตุสุดวิสัยให้รวมถึงนายจ้างหยุดประกอบกิจการเอง
ขณะที่มติคณะกรรมการประกันสังคมให้จ่ายสิทธิประโยชน์เฉพาะกรณีที่นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการตามคำสั่งราชการเท่านั้น
2)เพิ่มค่าแทนเป็นร้อยละ 62 ไม่เกิน 60 วัน
ขณะที่มติคณะกรรมการประกันสังคมเสนอจ่ายอัตราร้อยละ 50 ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการจ่ายเงินทดแทนทุกกรณีประโยชน์ทดแทนอยู่แล้ว
3)เพิ่มเงื่อนไขให้นายจ้างออกหนังสือรับรองลูกจ้างที่ไม่สามารถทำงานได้
ทำให้เป็นภาระนายจ้างโดยไม่สมควร เพราะนายจ้างจำนวนมากไม่ได้อยู่ประจำสถานประกอบการ หรือ ไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้า ว่าลูกจ้างจะไปยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนเมื่อใด? ถ้ามีลูกจ้างจำนวนมากและไปติดต่อสำนักงานประกันสังคมไม่พร้อมกัน ย่อมทำให้ นายจ้างต้องมาลงนามรับรองหลายครั้ง?
ขณะที่นายจ้างจำนวนมากไม่รู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องลงนามรับรองการขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานของลูกจ้างเพราะเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจทำงานได้? เพราะสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ไม่ได้สื่อสารเข้าถึงนายจ้างได้ทั่วถึงรวดเร็วเพียงพอ ทำให้เจ้าหน้าที่สปส.หลายพื้นที่ต้องเร่งไปตามหานายจ้างให้ลงนามรับรอง ขณะที่ผู้ประกันตนจำนวนมากต้องอดทนรอคอย-ทวงถามความคืบหน้าอย่างเหนื่อยหน่าย
(3)นายจ้างและผู้ประกันตน เป็นผู้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นส่วนใหญ่ประจำต่อเนื่อง
ขณะที่รัฐบาลจ่ายเงินสมทบน้อยกว่านายจ้างและผู้ประกันตน และจ่ายล่าช้าโดยไม่ต้องถูกปรับเหมือนนายจ้างกรณีจ่ายช้าหรือไม่ครบถ้วน รัฐบาลควรเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินทดแทน หรือเงินเยียวยาแก่ผู้ประกันตนทุกประเภท เพราะทุกคนย่อมได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด และควรใช้กฎกระทรวงกรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยฉบับเดิมได้
การนำเงินกองทุนประกันสังคมมาจ่ายทดแทนแก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากโควิด-19 ก็คือรัฐบาลโยนภาระให้นายจ้างและลูกจ้างรับผิดชอบกันเอง (ด้วยเงินสมทบกองทุนประกันสังคม) โดยรัฐบาลไม่แยแสถึงเสถียรภาพกองทุนประกันสังคม และหน้าที่ความรับผิดชอบของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม กรณีที่เงินกองทุนประกันสังคมไม่พอจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีใด กฎหมายประกันสังคมยังให้รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุน หรือเงินทดรองราชการตามความจำเป็น (ตามมาตรา 24 วรรคท้าย)
(4)กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างานเพราะเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโรคติดต่ออันตราย (โควิด-19) กับ กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจอาจทำให้ผู้ประกันตนม.33 มีโอกาสได้รับเงินทดแทนทั้ง2กรณีต่อเนื่อง ถ้าลูกจ้างได้กลับทำงานปกติภายหลังมาตรการผ่อนผันของราชการแล้ว แต่กิจการขาดสภาพคล่องจนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ ต้องเลิกจ้าง หรือให้ลูกจ้างลาออก ลูกจ้างคนนั้นย่อมมีสิทธิขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจอีก
ปัญหา คือ นายจ้างอาจให้ลูกจ้างมาขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 ร้อยละ 62ของค่าจ้างเพื่อไม่จ่ายค่าจ้างหรือไม่แจ้งการกลับเข้ามาทำงานปกติของลูกจ้างที่รับเงินทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 ทำให้กองทุนประกันสังคมมีภาระจ่ายเงินทดแทนมากขึ้นโดยไม่สมควร?
- มาตรการลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนกรณีการระบาดของโควิดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 พร้อมกับกฎกระทรวงกรณีเหตุสุดวิสัยจากโรคระบาดติดต่ออันตรายฯ 2563 และมีผลใช้บังคับพร้อมกันตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563
สาระสำคัญ คือ
-ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน 3 เดือนตั้งแต่งวดค่าจ้างมีนาคม-พฤษภาคม 2563
-นายจ้างลดอัตราเงินสมทบจาก 5 %เหลืออัตรา 4 %
-ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดอัตราเงินสมทบจาก 5 %เหลือ 1%
(ฐานค่าจ้างคิดสมทบขั้นต่ำ 1,650 บ.- ขั้นสูง 15,000 บ./เดือน)
-ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา 39 ลดอัตราเงินสมทบจากเดือนละ 432 บาทเหลือ 86 บาท
(ฐานค่าจ้างคิดเงินสมทบ 4,800 บ.เท่ากันทุกเดือน โดยจ่ายเงินสมทบ 2 เท่าของม.33=9% และได้รับความคุ้มครอง 6กรณี ยกเว้นการว่างงาน)
-ผู้ประกันตนโดยสมัครใจมาตรา40 ไม่มีการลดเงินสมทบ
-รัฐบาลยังร่วมจ่ายเงินสมทบคงเดิม ทั้งผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40
(1)พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มาตรา 46/1 “กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกาศหลักเกณฑ์ให้ ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนได้คราวละไม่เกิน 6เดือน กรณีท้องที่ใดประสบภัยพิบัติอย่างร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพของกองทุนเป็นสำคัญ” สรุปคือ
กฎหมายไม่ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเพิ่ม หรือลดอัตราเงินสมทบของรัฐบาลได้ แต่ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540รัฐบาลได้แก้ไข โดยออกพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 เพื่อตัดคำว่า “ฝ่ายละเท่ากัน” กรณีการออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร ชราภาพและว่างงาน (มาตรา 46 วรรคสอง) ทำให้รัฐบาลทุกชุดกว่า 20ปีกำหนดอัตราเงินสมทบรัฐบาลจ่ายน้อยคงที่มาตลอดทั้งในกรณีชราภาพ สงเคราะห์บุตรและว่างงาน
(2)คณะรัฐมนตรีมีมติให้ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลืออัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างขณะที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบเหลือร้อยละ 4 ซึ่งไม่สอดคล้องกับมติคณะกรรมการประกันสังคม เสนอให้ลดอัตราเงินสมทบเท่ากันเหลือฝ่ายละ 1% ของค่าจ้างในช่วง 3 เดือนคืองวดค่าจ้างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2563 เหตุผลคือ
- นายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินสมทบอัตราเท่ากันทุกกรณีประโยชน์ทดแทนมาตลอด เพื่อความเป็นธรรมเมื่อมีการลดอัตราเงินสมทบจึงควรลดอัตราเท่ากันด้วย
- เมื่อคำนึงถึงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และเสถียรภาพของกองทุนในอนาคต ไม่ควรลดเงินสมทบจำนวนมากทันที เพราะอาจพิจารณาลดหย่อนเงินสมทบต่อไปได้อีก
(3)ควรให้ความสำคัญกับมาตรการลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน โดยเชื่อมโยง-บูรณาการกับนโยบาย
คุ้มครองความมั่นคงในการทำงาน และพยุงกิจการนายจ้างให้ดำเนินการต่อเนื่องได้นานที่สุด โดยเลิกจ้างคนงานให้น้อยที่สุด และช้าที่สุด
(4)การลดเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน ย่อมกระทบต่อประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ผู้ประกันตนจะขอรับเมื่ออายุเกิน 55ปี และออกจากงาน โดยเฉพาะจำนวนเงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว เพราะมาจากเงินสะสมของนายจ้าง และผู้ประกันตนฝ่ายละ 3% ของค่าจ้าง (ไม่เกิน 15,000 บ./เดือน)+ดอกผล
ขณะที่เงินบำนาญรายเดือน จะมีสูตรคำนวณแน่นอน คือ ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน กรณีจ่ายเงินสมทบเกิน 180เดือนหรือ15ปี จะเพิ่มอัตราเงินบำนาญร้อยละ 1.5 ต่อระยะจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
(5)กรรมการประกันสังคมบางคนเสนอให้การพิจารณาลดเงินสมทบ ควรคำนึงถึงประเด็นอื่น คือ
- การลดเงินสมทบไม่ได้ช่วยนายจ้างและผู้ประกันตนโดยตรงในการลดการเลิกจ้างงาน ภาครัฐสามารถแนะนำให้นายจ้าง/สถานประกอบการในการพิจารณามาตรการอื่นประกอบ เช่น ลดชั่วโมงการจ้างงานในช่วงเกิดวิกฤตแทนการเลิกจ้าง
- การลดเงินสมทบเป็นการส่งสัญญาณตรงข้ามกับทิศทางที่กองทุนประกันสังคมต้องการดำเนินการในอนาคต เนื่องจากกองทุนประกันสังคมเก็บเงินสมทบอัตราที่ค่อนข้างต่ำแล้ว
- มาตรการลดอัตราเงินสมทบควรทำควบคู่กับฝ่ายนายจ้าง เช่น การลดอัตราเงินสมทบให้เฉพาะแก่นายจ้างที่ไม่มีการเลิกจ้าง เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงมติ คณะกรรมการประกันสังคมหลายประเด็นที่เสนอผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล) ไปสู่การพิจารณาของคฯรัฐมนตรีเกิดจากสาเหตุใด? เช่น อัตราเงินทดแทนและระยะเวลาการจ่าย กรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัย? การลดอัตราเงินสมทบนายจ้าง และผู้ประกันตนไม่เท่ากันเป็นครั้งแรกในประวัติการบริหารกองทุนประกันสังคม? แสดงว่า คณะกรรมการประกันสังคมไร้อำนาจตัดสินใจตัดสินใจอย่างแท้จริง
ข้อสงสัย คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือใคร? เปลี่ยนแปลงก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเห็นชอบ หรือรัฐมนตรีส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมการประกันสังคมกับรัฐมนตรีแรงงาน จนกระทั่งกลายเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ลาออกจากสมาชิกพรรค เพราะความไม่เป็นอิสะในการทำงาน หรือถูกกดดันจากคณะผู้บริหารพรรค? จยกระทั่งเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่ลาออกจากสมาชิกพรรค และต่อมายอมลาออกจากรัฐมนตรี (เป็นคนท้ายๆ)เมื่อวันที่ 20กรกฎาคม 2563
ไทย เป็นประเทศเดียวในประชาคมอาเซียนที่มีสิทธิประโยชน์ระบบประกันสังคมครบทุกกรณี และมีเพียง 2 ประเทศ คือ ไทยและเวียดนาม ที่มีสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน (สำนักงานประกันสังคม,ระบบประกันสังคมอาเซียน :น.สุดท้าย)
ผู้แทนสำนักงานประกันสังคมได้นำเสนอภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน กองทุนประกันสังคมต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษาเชิงนโยบายและกฎหมายแรงงาน ในคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2563 สรุปได้ว่า มีผู้ประกันตนรายใหม่รับเงินทดแทนกรณีว่างงานทุกกรณีตั้งแต่มกราคม-กรกฎาคม 2563 รวม 1,630,708 คนคิดเป็นเงิน 31,681 ล้านบาท และคาดว่าจะใช้สิทธิกรณีว่างงานทั้งปีจำนวน 2.24 ล้านคน คิดเป็นเงิน 47,309 ล้านบาท (ดูตาราง)
ก่อนปี2563 มีผู้ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างานประมาณ 6–7 แสนคน ขณะที่ปีนี้ช่วงระยะเพียง 7 เดือน เพิ่มเป็นจำนวนมากถึง 1.6 ล้านคน
รายการ |
ใช้สิทธิแล้ว ม.ค.-ก.ค.2563 | คาดว่าจะใช้สิทธิทั้งปี2563 | ||
จำนวนคน | จำนวนเงิน
(ล้านบาท) |
จำนวนคน | จำนวนเงิน
(ล้านบาท) |
|
ว่างงาน (เลิกจ้าง,ลาออก,สิ้นสุดสัญญาจ้าง) | 713,904 | 17,224 | 1,242,241 | 31,212 |
ว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 | 916,084 | 14,457 | 1,000,000 | 16,097 |
รวม | 1,630,708 | 31,681 | 2,242,241 | 47,309 |
- ณ เดือนมิถุนายน 2563 กองทุนว่างงานมีเงินสำรอง 161,101 ล้านบาท
- ณ สิ้นปี พ.ศ. 2563 คาดว่าจะมีเงินคงเหลือ 149,033 ล้านบาท
นอกจากนี้ ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม ได้แจ้งถึงมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนและนายจ้างของ
สำนักงานประกันสังคมระยะต่อไป ได้แก่
- ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือฝ่ายละ 2% และผู้ประกันมาตรา 39 เหลือ96 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3เดือน (สิงหาคม-ตุลาคม 2563) โดยมติกรรมการประกันสังคมเห็นชอบ อยู่ระหว่างเสนอต่อรัฐมนตรี
- เยียวยาผู้ประกันตนม.33 ที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 6เดือนภายใน15 เดือนจำนวน 59,776 คน โดยจ่ายรวดเดียวคนละ 15,000 บาทรวมเงิน 869.640 ล้านบาท (ตามมติครม. 21 กรกฎาคม 2563)
- เยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ที่ยื่นขอรับสิทธิทดแทนกรณีเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโควิด-19 ได้รับน้อยกว่า 5,000/30 วันจำนวน 296,104 คนจำนวน 746.8500 ล้านบาท (อยู่ระหว่างเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพื่อลงนามถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง)