เราต้องเปลี่ยน “เบี้ยยังชีพเป็นบำนาญถ้วนหน้า”

จากอัตราการเป็นภาระของผู้สูงอายุปีพ.ศ. 2558, 2559 และ 2560 มีค่าร้อยละ 24.09, 25.14, และ 26.23 ตามสำดับ ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือ Aged Society โดยอ้างอิงจากเกณฑ์ของทางสหประชาชาติที่กำหนดไว้ว่า หากประเทศใดมีจำนวนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งอัตราส่วนของประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทย มีอัตราการพึ่งพิงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ และจากการประมาณการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในปี พ.ศ. 2563, 2568, และ 2573 จะมีประชากรผู้สูงอายุจำนวน 12,272,040 (17.51%),  14,993,740 (21.22%) และ 17,743,820 (25.12%) คน แสดงให้เห็นถึงจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ๆ ปัญหาที่ตามก็จะเป็นเรื่องของกำลังแรงงาน เศรษฐกิจ เนื่องจากมีการพึงพิงสูง  โดยผู้สูงอายุมีรายได้หลักมาจากบุตรหลาน  และผู้สูงอายุมีสถิติการเก็บออมลดน้อยลง ในขณะที่ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราค่าครองชีพในการดำเนินชีวิตประจำวันสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ซึ่งเกี่ยวกับการอุปโภคและการบริโภค ถ้าหากในบางครัวเรือนมีแค่ผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ไม่มีบุตรหลานคอยดูแล ก็ยากที่จะดำเนินชีวิตด้วยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ 

สวัสดิการของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่เป็นเงินเบี้ยยังชีพ  โดยที่ผ่านมาเมื่ออายุครบ 60 ปี โดยจะได้รับเงินต้อนรับวัยชราที่ 600 บาทต่อเดือน และได้จะรับเงินเพิ่ม 100 บาท ในทุก ๆ 10 ปี อายุ 60 ปี ได้ 600 บาท – อายุ 70 ปี ได้ 700 บาท -อายุ 80 ปีได้ 800 บาท/เดือน ถ้าอายุ 90 ปี จะเพิ่มเงินเป็น 1,000 บาท/คน/เดือน โดยมีเงื่อนไขว่าไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อนำเงินเบี้ยยังชีพไปเทียบกับเส้นความยากจน 2,803 บาท/เดือน ซึ่งจำนวนเงินที่ผู้สูงอายุได้รับนั้นน้อยกว่าเส้นความยากจนอยู่ที่ 4-5 เท่าตัว

ในสังคมไทยมีผู้สูงอายุจำนวนมาก แต่มีสวัสดิการไม่เพียงพอและไม่ครอบคลุม เพราะสวัสดิการผู้สูงอายุไม่ใช่ “สิทธิสำหรับทุกคน” ภาครัฐจะมองว่าถ้าคุณได้สวัสดิการจากหน่วยงานรัฐแล้ว คุณก็จะไม่ได้เบี้ยยังชีพ หรือคุณจะได้สวัสดิการรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น หากได้สวัสดิการมากกว่า 1 ภาครัฐมองว่ามีความซ้ำซ้อน ทั้งที่บำนาญข้าราชการเป็นสวัสดิการจากการทำงาน ประกันสังคมก็เป็นเงินสมทบจากการทำงาน ส่วนเบี้ยยังชีพไม่เพียงพอ เหมือนเป็นการให้ในลักษณะของการสงเคราะห์ จำนวนเงินต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่มาก  ไม่ได้มีการพัฒนามาเป็นเวลาหลายปี

พัฒนาการเบี้ยยังชีพที่รัฐอยากจะถอยหลัง

พัฒนาการของนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2535 เริ่มแรกเงินเบี้ยผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนหรือถูกทอดทิ้ง ผ่านการให้เบี้ยสงเคราะห์ผู้สูงอายุคนละ 200 บาทต่อเดือน หมู่บ้านละ 3-5 คน โดยในช่วง 3 ปีแรก มีผู้ได้รับสิทธิ์จำนวน 20,000 คน แต่มีเงื่อนไขที่ผู้นำชุมชนต้องยืนยันว่าผู้สูงอายุคนนั้นยากจนจริง ถึงจะได้รับเงินเป็นแบบเลือกจ่ายใช้โดยใช้งบประมาณ 57 ล้านบาท ต่อมาในสมัยที่นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ได้มีการปรับเบี้ยยังชีพเป็นเงิน 300 – 500 บาท/เดือน จนในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เบี้ยผู้สูงอายุได้ปรับเปลี่ยนเป็นให้ทุกคนเป็นแบบถ้วนหน้าคนละ 500 บาทต่อเดือนตลอดชีพ โดยต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์เป็นขึ้นไป ต่อมาในปีพ.ศ. 2554 เบี้ยผู้สูงอายุได้ปรับเปลี่ยน เป็นการจ่ายอัตราเบี้ยแบบขั้นบันไดตามจำนวนอายุที่เพิ่มขึ้น เริ่มตั้งแต่ 600-1,000 บาท โดยแบ่งอัตราเบี้ยตามช่วงอายุ จนกระทั่งการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 นโยบายหาเสียงเบี้ยผู้สูงอายุของพรรคการเมืองต่าง ๆ เราจะเห็นข้อเสนอของแต่ละพรรคดังนี้ พรรคประชาธิปัตย์ เบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาท/เดือน พรรคพลังประชารัฐ 1,000 บาท/เดือน พรรคอนาคตใหม่ 1,800 บาท/เดือน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 3,000-5,000 บาท/เดือน พรรคเพื่อไทยปรับเบี้ยผู้สูงอายุตามสภาพเศรษฐกิจ ในขณะนี้การเลือกตั้งผ่านไปเกือบจะ 3 ปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่นโยบายนี้ตอนหาเสียงเลือกตั้งก็ดูเหมือนว่าทุกพรรคจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่นโยบายดังกล่าวไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้เสนอเบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาท/เดือน ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพชีวิต ทำให้เบี้ยผู้สูงแบบขั้นบันไดที่ได้เงินตามจำนวนอายุที่เพิ่มขึ้น ถูกแช่แข็งมาเป็นเวลา 10 ปี

หลังจากการเลือกตั้งปี 2562 เครือข่ายภาคประชาชนจึงล่ารายชื่อกว่า 10,000 คน เสนอถึง นายกรัฐมนตรี เพื่อผลักดันเรื่องบำนาญแห่งชาติ และมีพรรคการเมืองได้ยื่น ร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติประกอบกับของภ  โดยสำหรับภาคประชนชามีหลักคิดสำคัญคือการวางรากฐานบำนาญถ้วนหน้าแก่ผู้อายุเกิน 60 ทุกคนประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน แต่มีข้อโต้แย้งจากรัฐ ว่าร่างนี้ทำให้เป็นภาระทางการคลัง ซ้ำซ้อน และพยายามให้ผู้เสนอไปหาแหล่งที่มาของรายได้ รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ 4 ฉบับ จากเครือข่ายภาคประชน พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ และพรรคก้าวไกล นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันโอชาไม่รับรองกฎหมาย มีการปัดตกทั้ง 4 ฉบับ แม้ในสถานการณ์โควิด-19 ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นยุคที่ประชาชนยากลำบากอย่างที่สุด แต่นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันโอชาไม่ได้คิดจะปกป้องคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนในสังคม โดยการไม่รับข้อเสนอข้อเสนอในการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพเป็นบำนาญ ที่ทำให้ประชาชนสูงวัยและคนทุกวัยลืมตาอ้าปากได้

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564 มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ(ใหม่) ครั้งที่ 1/2564 เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนดนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะให้จ่ายเบี้ยยังชีพเฉพาะกลุ่มคนยากจน จากกรณีที่มีการเรียกเก็บเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืนรวมดอกเบี้ย จากการได้รับบำนาญพิเศษตกทอดมาจากบุตร มีการตีความว่าเกิดการจ่ายเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อน ดังนั้นก็ต้องไม่ให้แบบถ้วนหน้า โดยจะเป็นกำหนดการจ่ายเบี้ยยังชีพแบบกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรียกได้ว่า แช่แข็งไม่พอ แต่เป็นรัฐบาลจะพาถอยหลังลงคลองอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามเครือข่ายภาคประชาชน ได้ออกมา call out เรื่องการรักษาสิทธิในการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เป็นแบบถ้วนหน้า ไม่เอาแบบสงเคราะห์

การเลือกตั้งที่ผ่านมา ในปี 2566 หลายพรรคมีนโยบายบำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาททั้งแบบถ้วนหน้าและแบบมีเงื่อนไข ซึ่งนโยบายดังกล่าวพรรครัฐบาลเดิมก่อนการเลือกตั้งก็ได้มีการนำไปหาเสียงเช่นกัน  แต่ดูเหมือนว่าความพยายามที่จะนำเบี้ยยังชีพถดถอยสู่สงเคราะห์ก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อหลังการเลือกตั้งประมาณ 3 เดือน ราชกิจจานุเบกษาได้มีการเผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 โดยหลักเกณฑ์ใหม่ ได้แก่ 1.มีสัญชาติไทย 2.มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ซึ่งอ้างตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า “บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ” สถานการณ์ดังกล่าวเป็นที่ไม่พอใจกับประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งต้องติดตามต่อว่ารัฐบาลชุดใหม่จะมีแนวทางอย่างไร โดยที่ภาคประชาชนยังคงผลักดันบำนาญถ้วนหน้าต่อไป และขณะเดียวกันพรรคก้าวไกลก็ได้เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ. บำนาญถ้วนหน้า ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ด้วยเช่นกัน

เราต้องมีบำนาญถ้วนหน้า

สำหรับภาคประชาชน รวมทั้งเครือข่าย We fair ได้เสนอหลักคิดที่สำคัญคือ “ระบบสวัสดิการกับปิ่นโต 3 ชั้น” เป็นการสร้างความมั่นคงแก่ผู้สูงอายุแบ่งง่ายๆได้สามชั้น ดังนี้ ปิ่นโตชั้นที่ 1 บำนาญชั้นแรก เกิดจากการเข้าถึง “สิทธิ” ตามหลักการ “ทั่วถึง เท่าเทียม ถ้วนหน้า” เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพ การมีหลักประกันรายได้ที่เหมาะสมกับคุณภาพชีวิต “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” ต้องปรับเป็น “บำนาญพื้นฐาน” ไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน สวัสดิการชั้นพื้นฐานเปรียบเป็น ข้าว + ผัก น้ำพริก “ต้องมี” เพราะเป็นพื้นฐาน มีแล้วสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ปัจจุบันไทยมีแค่ 600 บาท/เดือน หรือ 20% ของเส้นยากจนเท่านั้น ปิ่นโตชั้นที่ 2 บำนาญชั้นสองเกิดจากสวัสดิการการทำงาน เช่น ข้าราชการ /คนทำงาน รัฐร่วมสมทบสวัสดิการ/บำนาญ ผ่านกองทุน กบข. กองทุนประกันสังคม กองทุนการออมแห่งชาติ สวัสดิการชั้นสองเปรียบเป็นกับข้าว เป็นเนื้อ เป็นแกง กับข้าว สวัสดิการชั้นนี้ “ต้องมี” แต่มีความแตกต่างกันได้ ปิ่นโตชั้นที่ 3 บำนาญชั้นบนสุด เกิดจากการออม/การลงทุนส่วนบุคคล นายจ้าง-ลูกจ้างบริษัทเอกชน สวัสดิการชุมชน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพ ประกันชีวิต  เปรียบเหมือนของหวาน ถ้ามีมากไปอาจเป็นทุกข์ต่อสุขภาพได้ หากสวัสดิการขั้นที่ 1-2 เพียงพอ สวัสดิการขั้นที่สามจะมีหรือไม่มีก็ได้

ระบบสวัสดิการบำนาญถ้วนหน้าจะลดความเหลื่อมล้ำ โดยมีหลักการคือ  ในพื้นฐานทุกคนจะเงินจำนวนเท่า ๆ กันทุกคน ในขณะที่ไม่ได้ไปลดจำนวนที่มากกว่าให้น้อยลงซึ่งอาจจะเป็นปิ่นโตชั้นที่ 2 ที่เกิดจากสวัสดิการการทำงาน  แต่ช่องว่างลดลง ความห่างจะแคบลง ไม่ได้มีความห่างเท่าเดิม ยกตัวอย่างตามภาพประกอบด้านล่าง จะเห็นว่าเมื่อเพิ่มเงินจำนวนเท่า ๆ กัน ในขณะที่ไม่ได้ไปลดจำนวนที่มากกว่าให้น้อยลง  มักจะมีข้อโต้แย้งว่าไม่ได้ลดควาามเหลื่อมล้ำ แต่หารมองอีกแง่หนึ่ง พบว่าความห่างจะแคบลง ไม่ได้มีความห่างเท่าเดิมเลย  สรุปแล้วโดยสิทธิพื้นฐานจะไม่มีใครได้มากกว่า และไม่เหลื่อมล้ำกัน ดังนั้น สวัสดิการบำนาญถ้วนหน้าสามารถแก้ไขความเหลื่อมล้ำในเรื่องสวัสดิการที่ไม่เท่ากันที่มีมากของสังคมได้

สังคมผู้สูงอายุและสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้รัฐบาลสืบทอดอำนาจเผด็จการทหารที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตประชาชนและสังคมอย่างมาก ดังนั้นการมีหลักประกันรายได้อย่างบำนาญถ้วนหน้าอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจนหรือเส้นความปลอดภัย ที่มีความครอบคลุมจะทำให้ลดความกังวลในชีวิตหลังวัยทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาการเป็นสังคมผู้สูงอายุได้ในระยะยาว 

เมื่อผู้สูงอายุมีหลักประกันรายได้แล้วจะได้มีเวลาพักผ่อน และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเต็มที่ จากเดิมผู้สูงอายุจำนวนมากเลือกที่จะทำงานต่อ ปัจจัยหลัก คือ เรื่องรายได้ โดยการมีโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ที่ส่งเสริมให้ ผู้สูงอายุมีงานทำ มองว่าไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เมื่อมีอายุมากขึ้น สุขภาพร่างกายก็จะอ่อนแรงลง ผู้สูงอายุจึงไม่อาจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรเพิ่มรายได้เพิ่มเวลาเวลาพักผ่อนดูแลสุขภาพหาความสุขในช่วงบั้นปลายชีวิต เมื่อผู้สูงอายุอายุมีรายได้จากคนวัยทำงานผ่านระบบภาษีออกมาเป็นสวัสดิการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต คนวัยทำงานก็มีความกังวลลดลงด้วย

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *