สรุปปาฐกถา “รัฐสวัสดิการสู่สังคมไทยเสมอหน้า” : ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

สรุปประเด็นปาฐกถา “รัฐสวัสดิการสู่สังคมไทยเสมอหน้า” : ศ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร 
ณ เวทีเสวนาเชิงปฏิบัติการ รัฐสวัสดิการสู่สังคมไทยเสมอหน้า วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ 1 ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
การเลือกตั้งยังไม่จบสิ้นและมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งมิใช่โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่เราจำเป็นต้องมีความหวังว่าการเลือกตั้งจะใช้ในการผลักดันรัฐสวัสดิการได้ 
ประเด็นการปาฐกถา มี 4 เรื่อง ดังนี้
ข้อที่ 1 : ภาพรวมของความเหลื่อมล้ำ
– เส้นแสดงค่าจีนี่ เป็นดัชนีบอกความเหลือ่มล้ำ ถ้า 0 ได้เท่ากัน(เสมอภาค) ได้ 1 ความเหลื่อมล้ำสูง
– เส้นหนาแสดงชี้รายได้ครัวเรือน
– เมื่อก่อนค่าจีนี่ 4 กว่า ในปี 2535
– ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตสูงมากของประเทศไทยเปิดเสรีภาคการเงิน หลังจากนั้นฟองสบู่แตก 2543 มีแนวโน้มลดลง ปี 2558 ค่าจีนีสูง
– ค่าจีนีเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านสูงกว่า
– ประเด็นที่ดิน ตัวเลขเครดิตสูงได้จากความเหลื่อมล้ำจากที่ดินมี 1. การกระจุกตัวสูง การถือครองที่ดิน 2. การมีเงินสดในธนาคาร (ทั้ง 2 ตัว มาวิเคราะห์ทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางทรัพย์สิน) คนจำนวนน้อยสามารถเพิ่มรายได้และทรัพย์สินอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆ ตัวเลขของมหาเศรษฐีของไทย 40 ครัว เพิ่มขึ้น 8% ใน 12 ปี แสดงให้เห็นการกระจุกตัวส่งผลต่อค่าจีนี่
ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวต่อปี
อีสานเทียบได้กับอินเดีย
• เหนือ ใต้ ตะวันตก เทียบกับอินโนนีเซีย
• กลาง เทียบกับ จีน
• กทม. เทียบกับ รัสเซีย
– ผลเสียของสังคมไม่เสมอภาค คือ เครียด สุขภาพไม่มี เศรษฐกิจโตช้าลง คนรวยส่งผลต่อการกำหนดนโยาย การคอรัปชั้น สังคมมีความแตกแยก ขาดความรักชาติ การช่วยเหลือลดลง สังคมเกิดความขัดแยก
ข้อที่ 2 : ความหมายสังคมเสมอหน้า รัฐสวัสดิการและหลักการเป็นอย่างไร
ความหมาย :
– ไม่ใช่ทุกคนมีทุกอย่างเท่ากันหมด แต่ไม่มีใครอยู่ใต้เส้นความยากจน ทุกคนได้ความยุติธรรม
– รวยหรือจนไม่ได้กำหนดโอกาสในชีวิต
– รายได้และความมั่งคั่งของชาติ กระจายอย่างเป็นธรรม
– ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพความเป็นพลเมืองที่เสมอภาคกัน
ทางออกคือปรับเป็นรัฐสวัสดิการ :
– รัฐบาลสร้างระบบสวัสดิการ ดูแลสุขภาพ การศึกษา
– ชักจูงประชาชนร่ำรวยให้รวมมือลงทุนสร้างชาตด ลดความขัดแย้ง
– ปฏิรูประบบภาษีให้เป็นแหล่งรายได้ : เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีเงินได้, ปฏิรูปภาษีทรัพย์สิน ที่ดิน มรดกและเพิ่มภาษีผลได้จากทุน และ ร่วมกับ OECD ปัองกันการเลี่ยงภาษีของบรรษัทข้ามชาติ
หลักการของระบบรัฐสวัสดิการ :
– สังคมเกื้อกูลกันร่วมสร้างชาติด้วยกัน
– Social wage ค่าจ้างทางสังคม เช่น แม่บ้านเลี้ยงลูกที่บ้าน ไม่ได้มีใครได้เงินเดือน การเลี้ยงลูกเพื่อสังคมเมื่อเติบโตไปทำงาน ดังนั้น สังคมต้องช่วยเหลือในส่วนนี้ แม่บ้านต้องได้รับค่าตอบแทน เมื่อไม่ได้รับเขาได้จ่ายคืนกับสังคม ดังนั้น คนทุกคนคุณูปการเหมือนการคืนภาษี (เหมือนภาษีบุคคลธรรมดา)
ข้อที่ 3 ประสบการณ์รัฐสวัสดิการในยุโรป
ยุโรปเคยมีความแตกแยกแต่ใช้รัฐสวัสดิการเป็นทางออกเป็นหนึ่งของการสร้างชาติ
– ปรับระบบภาษี สร้างระบบบำนาญ มีเงินประกันสังคมเมื่อเจ็บป่วย เมื่อเกิดการยอมรับที่เยอรมันนีเป็นแบบจำลองทางสังคมในยุโรป
– สาเหตุที่สามารถทำได้ เพราะ มีการยอมรับทุกคนมีสิทธิได้รับสวัสดิการเท่าเทียม
ข้อที่ 4 : ถ้าปรับใช้ในเมืองไทยเป็นอย่างไร
– อุปสรรคจากปัจจัยภายนอก : การผูกขาดของบรรษัทข้ามชาติ, โลกาภิวัตน์ได้เปิดช่องทางให้หลีกเลี่ยงภาษี
– อุปสรรคจากปัจจัยภายใน : มีข้อโต้แย้งระบบรัฐสวัสดิการแพงเป็นภาระต่อสังคม ลดแรงจูงใจในการทำงาน เป็นการปล้นจากคนรวยไปให้คนจน
– จริงหรือที่รัฐสวัสดิการต้นทุนสูงไร้ประสิทธิภาพ : เป็นส่วนหนึ่งของภาพรวม
– จริงหรือที่รัฐสวัสดิการปล้นจากคนรวยไปให้คนจนจึงไม่เอื้อกับการลงทุน
– การกระจายรายได้จากคนรวยไปสู่คนจนกว่าหรือมีโอกาสน้อยกว่า ต้องมองภาพรวมเป็นพลวัต
สรุป : การสร้างรัฐสวัสดิการไม่ใช่เรื่องยาก ต้องให้สังคมมาสร้างกระปุกออมสิน และเป็นหน้าที่ของพรรคการเมือง ระบบรับสวัสดิการถ้วนหน้ามีหลายระดับ เช่น ไม่ใช้จ่ายไม่จำเป็น ไม่คอรัปชั่น อุดช่องโหว่ภาษี ทำให้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ของ GDP อ.สมชัย จิตสุชน ถ้าจัดระบบรัฐสวัสดิการอย่าง อ.ป๊วย ให้ทุกคนมีบำนาญ ต้องต้นทุนเพิ่ม 2.5% GDP ที่บอกว่าให้อุดช่องว่างของระบบภาษี มีคาดหวังให้พรรคการเมืองเข้าไปปฏิรูปสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ความมุ่งมั่นทางการเมืองสร้างรัฐสวัสดิการได้ พร้อมกับให้กำลังใจพรรคเมืองที่แข่งขั้นสร้างรัฐสวัสดิการ

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *